LogoGnssthai GNSS Thai เราคือผู้ให้บริการด้าน GNSS ในประเทศไทย มานานกว่า 10 ปี phone 095-856-5171   cropped-LINE-Logo  gnssthai   email  gnssthai@gmail.com facebook_logos_PNG19761 GNSS thai

Compare grafnav and output copy

การใช้ software ในการสำรวจแบบ Kinermatic

การนำ Software มาใช้ช่วยในการทำสำรวจรังวัดถือว่าเป็นมิติใหม่ของช่างสำรวจ โดยหลักการพื้นฐานง่ายๆ ก็คือแทนที่ช่างสำรวจจะต้องได้ค่าพิกัดที่แม่นยำในระหว่างสำรวจเลย แบบ real-time เปลี่ยนเป็นช่างสำรวจออกไปสำรวจข้อมูลภาคสนามแล้วทำการบันทึกค่าที่เรียกว่า raw data ตามตำแหน่งที่ต้องการวัดค่ากลับมา หลังจากนั้นเมื่อกลับมาถึงออฟฟิศเปิดแอร์เย็นๆ จิบกาแฟ แล้วนำข้อมูลที่ได้จากภาคสนามมาประมวลผลผ่านซอฟแวร์เพื่อให้ได้ค่าพิกัดที่แม่นยำ (นอกจากนี้จะทำเมื่อไรก็ได้อีกด้วย) วิธีการแบบนี้เรียกว่า GNSS Post-processing

ซึ่งในการทำ Post-processing ลักษณะนี้ สามารถใช้งานได้ทุกรูปแบบของการสำรวจ ทั้งแบบ static และ kinematic ซึ่งในบทความนี้ขอกล่าวถึงแบบ Kinematic เป็นหลักเพราะเป็นที่นิยมแพร่หลายมากในปัจจุบัน

การสำรวจรังวัดแบบเคลื่อนที่ (post-process Kinematic) ด้วยการติดเครื่องรับสัญญาณ GNSS บนยานพาหนะต่างๆ เช่น รถยนต์, เครื่องบิน UAV หรือ เรือต่างๆ เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นการสำรวจที่ให้ความแม่นยำที่เชื่อถือได้ และได้ข้อมูลในวงกว้าง เหมาะกับการใช้ประเมินสภาพโดยรวมมากกว่าการสำรวจรังวัดแบบจุด (Static) เนื่องจากต้องใช้ทำการสำรวจแบบจุดจำนวนมากจึงจะได้ข้อมูลเพียงพอ

วิธีการทำงานก็คือ Base และ Rover จะทำการบันทึกค่า Raw data ของดาวเทียม GNSS ในช่วงเวลาเดียวกันโดย Base ตั้งบันทึกค่า raw data ของดาวเทียมด้วยความถี่อย่างน้อย 1Hz และ Rover ที่ติดตั้งบนยานพาหนะก็บันทึกค่า raw data ไปด้วยความถี่ที่เท่ากับ Base ( Base และ Rover ตั้งบันทึกค่าโดยอิสระต่อกัน ไม่ต้องใช้เครื่องมือเชื่อมต่อถึงกันทั้งสิ้น (แต่ต้องทำการบันทึก data ในวันและเวลาเดียวกัน) ซึ่งเมื่อ Rover ทำการสำรวจเสร็จ ก็นำข้อมูลที่บันทึกได้จากทั้ง Base และ Rover ที่ได้มาเป็น input ให้กับ software เพื่อทำการประมวลผล post-processing

โดย software จะนำค่า raw data ที่บันทึกได้มาประมวลผลด้วยวิธีการ differential ทั้งแบบ forward และ reverse เพื่อปรับแก้ค่าของ Rover ให้ได้ค่าพิกัดที่มีความแม่นยำเพิ่มขึ้น โดยค่าพิกัดที่ว่านี้จะแปรผันไปตามช่วงเวลา และสถานะดาวเทียมขณะนั้นๆ ซึ่งค่าพิกัดของ Rover ที่ได้ จะมีความแม่นยำสูงสุดเทียบเท่ากับการทำ RTK คือ 1 ซม.

สุดท้ายนี้จะเห็นว่าการทำสำรวจรังวัดลักษณะนี้จะให้ความสะดวกแก่ผู้ปฎิบัติงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถทำสำรวจได้สะดวก รวดเร็ว และให้ค่าความแม่นยำสูง

Leave a Reply

Your email address will not be published.