LogoGnssthai GNSS Thai เราคือผู้ให้บริการด้าน GNSS ในประเทศไทย มานานกว่า 10 ปี phone 095-856-5171   cropped-LINE-Logo  gnssthai   email  gnssthai@gmail.com facebook_logos_PNG19761 GNSS thai

content_2_image

การหาพิกัดตำแหน่งแบบสัมพัทธ์ (Differential GNSS หรือ DGNSS)

การหาค่าพิกัดตำแหน่งลักษณะนี้เป็นวิธีการหาค่าโดยใช้หลักการเปรียบเทียบกันระหว่างจุดสองจุด โดยเครื่องรับสัญญาณ GNSS เครื่องหนึ่งจะวางรับสัญญาณที่หมุดหลักฐานซึ่งรู้ตำแหน่ง X,Y,Z ที่แน่นอนแล้ว (known coordinate) เครื่องรับนี้ถูกเรียกว่าสถานีฐาน (Base station) และนำเครื่องรับสัญญาณเครื่องที่สองไปยังจุดที่ต้องการหาตำแหน่งเปรียบเทียบกับสถานีฐาน โดยจะถูกเรียกว่ารีโมท (Rover)

หลักการทำงานของการหาตำแหน่งแบบสัมพัทธ์ คือ Base station และ Rover จะต้องรับสัญญาณดาวเทียมกลุ่มเดียวกันเวลาเดียวกัน โดย Base station จะทำหน้าที่เหมือนจุดอ้างอิง และส่งค่าปรับแก้คลื่นสัญญาณ (correction data) * ณ เวลานั้นๆ ไปยัง Rover และ Rover สามารถนำค่าปรับแก้ที่ได้รับมาไปใช้เป็นค่าแก้สำหรับคำนวณตำแหน่งของตัวเองได้ในทันที (real-time) ให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น

โดยหลักๆแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. การใช้ค่าปรับแก้จากสัญญาณ L1 (DGNSS)

การส่งค่าปรับแก้ลักษณะนี้ทาง Base station จะส่งค่าปรับแก้ของสัญญาณ L1 ไปยัง Rover ทำให้ค่าพิกัดที่ Rover ได้มีความแม่นยำอยู่ที่ 40cm – 60cm โดยปกติ Base station และ Rover จะอยู่ห่างกันไม่เกิน 60km ใช้ในลักษณะงานที่ต้องการความแม่นยำระดับต่ำกว่าเมตร เช่น การเดินเรือทะเล

  1. การใช้ค่าปรับแก้จากสัญญาณ L1L2 (RTK)

การส่งค่าปรับแก้ลักษณะนี้ทาง Base station จะส่งค่าปรับแก้ของสัญญาณ L1L2 ไปยัง Rover ทำให้ค่าพิกัดที่ Rover ได้มีความแม่นยำสูงสุดอยู่ที่ 1cm โดยความแม่นยำจะแปรผันตามระยะห่างระหว่าง  Base station และ Rover ในกรณีรังวัดแบบ RTK ระยะห่างจาก Base station และ Rover จะอยู่ห่างกันไม่เกิน 20km

ตามที่กล่าวมาข้างต้น จะพบกว่าการรังวัดลักษณะนี้เครื่องรับสัญญาณทั้ง 2 เครื่อง ต้องมีการติดต่อสื่อสาระหว่างกัน โดยปกติแล้วเราสามารถใช้ช่องทางสื่อสาร RF 433MHz, WIFI หรือ 3G ในการสื่อสารได้

*ค่าปรับแก้จะอธิบายเพิ่มเติมในบทความถัดไป

Leave a Reply

Your email address will not be published.